ประวัติโรงเรียน

ประวัติความเป็นมาโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม

โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม เป็นโรงเรียนคาทอลิก ประเภทสามัญศึกษา  ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนริมคลองสมถวิล  ตำบลตลาด  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนตามใบอนุญาตเลขที่ 42-32/0002 ลงวันที่  1 พฤษภาคม พ.ศ.2532 ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสังฆมณฑลอุบลราชธานี บริหารงานโดยคณะบาทหลวงสังฆมณฑลอุบลราชธานี  มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีความพร้อมทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีคุณธรรม  จริยธรรม  เพื่อเป็นพลเมืองดีของสังคมและของประเทศชาติ เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเนื้อที่จำนวน 15 ไร่ 3 งาน 9.2 ตารางวา

ปีการศึกษา  2531  นางสาวบวร  จำปารัตน์ เป็นผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนได้เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น ขนาด 16 x 7 เมตร 1 หลัง จำนวน 2 ห้องเรียน เพื่อเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กโดยรับเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปี 6 เดือนถึงอายุ 3 ปี ใช้ชื่อว่า “สถานรับเลี้ยงเด็กอนุบาล   พระกุมาร” เปิดรับนักเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2530 ในปีแรกนั้น มีเด็กบริบาลจำนวน 9 คน  และครู  2 คน

ปีการศึกษา 2532 นางสาวบวร จำปารัตน์ เป็นผู้รับใบอนุญาต และบาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ ย้ายมาเป็นผู้จัดการ และครูใหญ่ โดยในปีนี้โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งอย่างเป็นทางการตามใบอนุญาตเลขที่ 42-32/0002 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอนุบาลพระกุมาร” โดยเปิดรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 32 คน ครู 1 คน

ปีการศึกษา 2533  ได้ขยายห้องเรียนเป็นสองห้อง เนื่องจากเปิดสอนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีนักเรียนจำนวน 79 คน  ครู 3 คน

ปีการศึกษา 2534 ได้ขยายห้องเรียนเป็น 5 ห้องเรียน เนื่องจากเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 มีจำนวนนักเรียน 103 คน มีจำนวนครูและครูพี่เลี้ยง 9 คน

ปีการศึกษา 2535  โรงเรียนได้ขยายกิจการ การเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1  มีจำนวนนักเรียน 175 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 11 คน

ปีการศึกษา 2536  เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น จึ่งได้สร้าง อาคารเรียน 1 ชั้น ขนาด 16 x 7 เมตร เพิ่มจำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียนและเปิดรับนักเรียนระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  2  มีจำนวนนักเรียน 241 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 14 คน

ปีการศึกษา 2537  เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียน 330 คน มีจำนวนครูและครูพี่เลี้ยง 18 คน

ปีการศึกษา 2538  ด้านการบริหารมีการปรับเปลี่ยน ผู้จัดการจาก บาทหลวงเติมศักดิ์  เจริญบุญ  เป็น บาทหลวงบุญเลิศ  พรหมเสนา และเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของเด็กนักเรียนและต้องขยายห้องเรียนให้เหมาะสม คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสังฆมณฑล จึงได้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น จำนวน 32 ห้องเรียน เมื่อวันที่  8  มกราคม  พ.ศ. 2538 เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีจำนวนนักเรียน 434  คน  ครูและครูพี่เลี้ยง 19 คน

ปีการศึกษา  2539 เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   มีจำนวนนักเรียน  529 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 19 คน

ปีการศึกษา 2540 ทำพิธีเสกและเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 โดยพระสังฆราชมีคาแอลบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ มุขนายกสังฆมณฑลอุบลราชธานี พร้อมกับ  นายวิชัย ทัศนเศรษฐ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธานในพิธี  ในปีนี้เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาลชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 508 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 23 คน และได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก“โรงเรียนอนุบาลพระกุมาร” เป็น “โรงเรียนพระกุมารสารคาม” ด้านการบริหาร ได้ปรับเปลี่ยนครูใหญ่จากนางสาวอัจฉราวดี  ใสสว่างเป็น  นางสาวอรนุช  หอมจันทร์

ปีการศึกษา 2541 เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 564 คน ครูและครูพี่เลี้ยง จำนวน  30  คน

ปีการศึกษา  2542  เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 617 คน ครูและครูพี่เลี้ยง  จำนวน  31  คน

ปีการศึกษา  2543  เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 746 คน ครูและครูพี่เลี้ยง  จำนวน  39  คน

ปีการศึกษา 2544   ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้จัดการจาก บาทหลวงบุญเลิศ  พรหมเสนา เป็น บาทหลวงสุรชัย นันทะบุตร เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 800 คน ครูและครูพี่เลี้ยงจำนวน 41 คน

ปีการศึกษา 2545  ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้จัดการจากบาทหลวงสุรชัย นันทะบุตร เป็น บาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา และปรับเปลี่ยนครูใหญ่ จากนางสาวอรนุช หอมจันทร์ เป็นนางสาวลัดดา วงศ์ศรีแก้ว เปิดรับนักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 1,043 คน จำนวนครูและครูพี่เลี้ยงจำนวน 44 คน

ปีการศึกษา 2546  โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกจากหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอกคือบริษัท  ที.ที. ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จำกัด นักเรียนระดับอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 1,200 คน  ครูและครูพี่เลี้ยง จำนวน 50 คน และ

ปีการศึกษา 2547  ด้านการบริหารได้มีการปรับเปลี่ยนผู้จัดการจากบาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา  เป็นบาทหลวงสำรอง คำศรี และเพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักเรียน และภูมิทัศน์ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัย  คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสังฆมณฑลจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น เป็นอาคารสำหรับนักเรียนอนุบาล จำนวน 1 หลัง 19 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียน 14 ห้อง ห้องประกอบการ 5 ห้อง พร้อมกับปรับปรุงห้องพยาบาล  ห้องสมุดและห้องธุรการ และได้ทำพิธีเสกและเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในปีนี้มีจำนวนนักเรียน 1,340 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 57 คน

ปีการศึกษา 2548  เพื่อความถูกต้องเหมาะสมจึงได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อจากเดิม “โรงเรียนพระกุมารสารคาม” เป็น “โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม”  เมื่อวันที่  10  พฤษภาคม  2548 ด้านอาคารสถานที่ ได้มีการปรับปรุงห้องเรียนอาคารอนุบาล 3 อาคารเดิม จำนวน 4 ห้อง  เป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ย้ายห้องธุรการจาก อาคารประถมมาที่อาคารอนุบาล จัดให้มีห้องดนตรีไทย ดนตรีสากล ห้องสื่อและห้องศาสนา ปรับปรุงน้ำใช้โดยเจาะน้ำบาดาล 2 บ่อ มีจำนวนนักเรียน 1,335 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 61 คน

ปีการศึกษา  2549  ปรับปรุงห้องพักครู  ห้องสมุด ห้องพยาบาล และติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องเรียน ระดับอนุบาล จำนวน 14 ห้องเรียนมีจำนวนนักเรียน 1,410 คน ครูและครูพี่เลี้ยง 63 คน

ปีการศึกษา 2550  ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการ จาก นางสาวลัดดา  วงศ์ศรีแก้ว  เป็นนางสาวพิมพา  สร้อยสูงเนิน ปรับปรุงห้องสมุด ห้องศูนย์หัวแหลม และห้องคอมพิวเตอร์ มาที่ใต้อาคารเรียนระดับประถมศึกษา  ห้องประชุมใช้โรงอาหารเดิม โรงอาหารใช้อาคารอนุบาลเดิม มีจำนวนนักเรียน 1,452 คน  จำนวนครูและครูพี่เลี้ยง 68 คน

ปีการศึกษา 2551  ด้านการบริหารได้มีการปรับเปลี่ยนบาทหลวงสำรอง  คำศรี เป็น   บาทหลวง ดร. เชาวฤทธิ์  สาสาย เข้ารับตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการแทน เริ่มจัดทำตราสารจัดตั้งโรงเรียน เพื่อเป็นนิติบุคคลให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน 2550 แต่ได้ขอยืดเวลาการส่งตราสารจัดตั้งโรงเรียนไปอีก 2 ปี ตามมติของสภาการศึกษาคาทอลิก และมีนโยบายที่จะเพิ่มพูนทักษะกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยอนุมัติเงินสวัสดิการซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาจำนวน 44 เครื่อง พร้อมกับได้เพิ่มคอมพิวเตอร์ในห้องประกอบการคอมพิวเตอร์ 25 เครื่อง ดำเนินการต่อเติมหลังคาอเนกประสงค์ระดับปฐมวัย  และ มีจำนวนนักเรียน 1,517 คน จำนวนผู้บริหาร ครูและครูพี่เลี้ยง 75 คน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาเอก 1 คน ปริญญาโท 6  คน ปริญญาตรี  61 คน และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรี  2  คน มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ  โดยว่าจ้างครูชาวต่างชาติ 4 คน

ปีการศึกษา 2552  ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการจาก นางสาวพิมพา สร้อยสูงเนิน เป็นนางสาวอุดม สว่างวงค์ จัดทำบัตรประจำตัวนักเรียน  เข้าร่วมโครงการกับสถานบันวิจัยการเรียนรู้  สร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 12.5×25 เมตร  และสระเด็กเล็กขนาด  5×9 เมตร ปรับปรุงห้องประชุมระดับประถมโดยยกระดับหลังคาเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตร ปูกระเบื้อง และปรับปรุงเวทีให้มีความสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1 เมตร ก่อสร้างหลังคาเชื่อมระหว่างอาคารปฐมวัยกับอาคารบริบาลใหม่ ก่อสร้างห้องเรียนระดับบริบาลเพิ่มจำนวน 3 ห้องเรียน มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศทุกห้อง ปรับเปลี่ยนห้องสื่อระดับปฐมวัยเป็นห้องอาหารนักเรียน จัดหาโทรทัศน์ ขนาด 29 นิ้ว และเครื่องเล่นดีวีดี สำหรับห้องเรียนบริบาล และอนุบาล 2-3 จำนวน 11 เครื่อง ขอรับบริการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะเพิ่มเป็น 2 เครื่องมีจำนวนนักเรียน 1,488 คนจำนวนผู้บริหารและครู 80 คน

ปีการศึกษา  2553 มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้สำหรับนักเรียนโดยจัดทำหลังคาเชื่อมระหว่างอาคารเรียนระดับประถมศึกษาและอาคารเรียนระดับปฐมวัยจัดทำหลังคาด้านหลังอาคารเรียนระดับประถมศึกษา จัดทำหลังคาเชื่อมทางเดินหน้าห้องธุรการ สร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 20 ห้อง สร้างห้องน้ำด้านหลังห้องธุรการ ปรับห้องน้ำบนอาคารเรียนระดับประถมศึกษาเป็นห้องพักครู จำนวน 6 ห้อง ต่อเติมห้องเก็บของบริเวณด้านหลังห้องธุรการ  ปรับปรุงห้องหัวหน้าฝ่าย พร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ติดตั้งพัดลมเพดานบริเวณหอประชุม จำนวน 18 เครื่อง  ติดตั้งพัดลมเพิ่มในห้องเรียนระดับประถมศึกษา ห้องละ 2 เครื่อง รวม 52 เครื่อง ดูแลระบบเครื่องปรับอากาศอาคารเรียนระดับบริบาลและอนุบาลจำนวน 36 เครื่องดูแลระบบเครื่องปรับอากาศห้องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งเครื่องขยายเสียงประชาสัมพันธ์ภายในโรงเรียน จัดทำแผงกั้นสนามฟุตบอล จัดทำสวนหย่อมบริเวณหน้าอาคารเรียนระดับ ป.1 และข้างหอประชุม ยกหลังคาบริเวณโรงอาหารให้สูงขึ้น ปรับปรุงระบบเสียงภายในห้องปฏิบัติการทางภาษามีจำนวนนักเรียน 1,648 คน จำนวนผู้บริหาร  ครูและครูพี่เลี้ยง 88 คน

ปีการศึกษา 2554 ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการ จากนางสาวอุดม สว่างวงค์ เป็น นางสาวรัตนารี สัญลักษณ์ อาคารสถานที่ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้แก่ เทพื้น ทาสี ขยายพื้นที่ สนามบาสเก็ตบอลใหม่  2 สนาม  พร้อมกับเปลี่ยนเสาแป้นบาสเก็ตบอล เทพื้นหินขัดและทรายล้าง ชั้นล่างอาคารประถมทั้งหมด ปรับห้องหัวแหลมเป็นห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเปลี่ยนพื้นห้องเรียนอาคารเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ทั้งหมดจากกระเบื้องเป็นหินขัด ติดกระจกระบายอากาศแทนตาข่ายเหล็ก เปลี่ยนหลังคากันสาดอาคารประถมทั้งหมดเป็นเมทัลชีท ทาสีอาคารประถมศึกษาปีที่  1 ทาสีอาคารเรียนระดับอนุบาลเป็นสีสันต่างๆ พร้อมเปลี่ยนหลังคาจากกระเบื้องลอนคู่เป็นเมทัลชีททั้งหมด ปรับบริเวณถนนให้ดูสวยงามด้วยคันหินปลูกหญ้าตลอดแนวถนน และในปีการศึกษานี้คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา       สังฆมณฑล มีมติให้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสามชั้น ชื่อ “อาคารเซนต์มัทธิว” ทางด้านทิศตะวันออกของอาคารเรียนประถม เพื่อใช้ประโยชน์เป็นโรงครัวและห้องอาหารนักเรียนชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สองเป็นที่พักพนักงานและผู้บริหาร มีวัดน้อยประจำโรงเรียน ส่วนชั้นสามใช้เป็นห้องพักผู้บริหารและห้องประชุมสัมมนาของโรงเรียน ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554  ส่วนด้านวิชาการได้มีนโยบายจากผู้บริหารให้ส่งเสริมการเรียนพิเศษเข้มข้นวิชาคณิตศาสตร์อัจฉริยะสำหรับเด็กนักเรียนที่ผ่านการทดสอบ ตอนเช้าก่อนขึ้นชั้นเรียนกับครูสอนพิเศษซึ่งโรงเรียนจัดหามาเสริมทักษะให้กับนักเรียน จัดซื้อหลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนทุกระดับ   ในปีการศึกษานี้ได้ส่งระดับก่อนประถมศึกษาเพื่อเข้ารับการประเมินโรงเรียนพระราชทาน  มีจำนวนนักเรียน 1,736 คน จำนวนบุคลากรครู 90 คน

ปีการศึกษา 2555 วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม วจนพิธีกรรมเสกและเปิดอาคารเซนต์มัทธิว โดยพระสังฆราชฟิลิปบรรจง ไชยรา พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายสุทธินันท์ บุญมี ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้แก่ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสามชั้น ทางด้าน ทิศตะวันออก ของอาคารเรียนประถม เพื่อใช้ประโยชน์เป็นโรงครัวและห้องอาหารนักเรียนชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สองและสามเป็นที่พักผู้บริหารและห้องรับรอง มีวัดน้อยประจำโรงเรียน และห้องประชุมสัมมนาของโรงเรียนและได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในห้องเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมดและห้องประกอบการจำนวน 50 เครื่อง ปรับเปลี่ยนโรงอาหารหลังเดิม เป็นสำนักบริหาร ปรับเปลี่ยนห้องประชุมระดับประถมศึกษาเป็นห้องพักครู จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 50 เครื่อง จัดการจราจรภายในโรงเรียน ด้านวิชาการ ได้มีนโยบายให้ส่งเสริมการเรียนพิเศษเข้มข้นวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษแลพัฒนานักเรียนกลุ่มที่อ่าน ไม่ออก เขียนไมได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รับคอมพิวเตอร์พกพา (tablet) คนละ 1 เครื่อง มีจำนวนนักเรียน 1,691 คน จำนวนบุคลากรครู 92 คน

ปีการศึกษา 2556 มีห้องเรียนระดับปฐมวัยจำนวน 12 ห้องเรียน ระดับประถมศึกษา จำนวน 24 ห้อง ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้แก่ ซื้อที่ดินบริเวณด้านหลังโรงเรียนติดกับสระว่ายน้ำ เนื้อที่ 83.1 ตารางวา รวมจำนวนที่ดินทั้งสิ้น 18 ไร่ 2 งาน 70.9 ตารางวา เพื่อรองรับการจัดการจราจรภายในโรงเรียน จัดทำซุ้มที่พักรับรองสำหรับผู้ปกครองสีสันสวยงาม บริเวณข้างห้องประชุมระดับประถมศึกษา จำนวน 6 หลัง นำระบบบัตร Smart Card มาแทนระบบการจำหน่ายชิปและคูปองแลกซื้ออาหาร จัดให้มีห้องสมุดสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย ปรับปรุงห้องสมุดระดับประถมศึกษาพร้อมทั้งติดเครื่องปรับอากาศ จัดบริการเครื่องทำน้ำเย็นสำหรับนักเรียนบนอาคารเรียน เพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการดื่มน้ำของนักเรียน ปรับอัตราเงินเดือนบุคลากรครู ตรงตามวุฒิการศึกษา ปรับอัตราขึ้นเงินเดือนโดยคิดฐานจากผลการประเมินประจำปีสัมพันธ์กับอายุการทำงาน  ด้านวิชาการได้มีนโยบายจากผู้บริหารให้จัดส่งเสริมการเรียนพิเศษเข้มข้นวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จัดให้การเรียนภาษาจีน เป็นหลักสูตรเพิ่มเติมของโรงเรียน และจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนสู่ประชาคมอาเซียน มีจำนวนนักเรียน 1,659 คน จำนวนบุคลากรครู 89 คน

ปีการศึกษา 2557 มีห้องเรียนระดับปฐมวัยจำนวน 12 ห้องเรียน ระดับประถมศึกษา จำนวน 24 ห้อง ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้แก่ ยกระดับพื้นสนามฟุตบอล และที่ดินบริเวณด้านหลังโรงเรียน ให้สูงขึ้น ปรับปรุงหลังคาอาคารเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นปลังคาเมทัลชีท สร้างห้องมินิมาร์ท ปรับอัตราเงินเดือนบุคลากรครู ตรงตามวุฒิการศึกษา ด้านวิชาการได้มีนโยบายจากผู้บริหารให้จัดส่งเสริมการเรียนพิเศษเข้มข้นวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จัดให้การเรียนภาษาจีน เป็นหลักสูตรเพิ่มเติมของโรงเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 และจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนสู่ประชาคมอาเซียน มีจำนวนนักเรียน 1,659 คน จำนวนบุคลากรครู 89 คน

ปีการศึกษา 2558 ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการ จาก นางสาวรัตนารี สัญลักษณ์ เป็น นางสาวศรีสุดา ประผะลา ก่อสร้างห้องประชุมระดับอนุบาลแทนหลังเดิมพร้อมกั้นตาข่ายเพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็กอนุบาล มีห้องเรียนระดับปฐมวัยจำนวน 12 ห้องเรียน ระดับประถมศึกษา จำนวน 24 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 1,680 คน จำนวนบุคลากรครู 86 คน คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสังฆมณฑลอุบลราชธานีได้เสนอให้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม คอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 1,759 คน จำนวนบุคลากรครู 95 คน โรงเรียนได้ปรับปรุงฝ้าเพดาน ห้องสมุดและระเบียงอาคารอนุบาล ได้ก่อสร้างอาคารบริบาล 1 ชั้น 4 ห้อง บ้านพักพนักงานคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 10 ห้อง อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น 12 ห้อง หอประชุมเชื่อมต่อระหว่างอาคารประถมเก่าและหลังใหม่ และห้องน้ำนักเรียนชาย 8 ห้อง ด้านวิชาการระดับปฐมวัย จัดการเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ จำนวน 6 ห้องเรียน ระดับประถมศึกษาปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาสนองนโยบาย “กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 1,815 คน จำนวนบุคลากรครู 98 คน โรงเรียนได้ดำเนินการติดตั้งสื่อมัลติมีเดีย  จำนวน  30  เครื่อง  จัดซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 51 เครื่อง และดำเนินการก่อสร้างเสาธงชาติ  สูงขนาด  16  เมตร

ปีการศึกษา 2561  ด้านการบริหารบาทหลวงเสกสรร  สมศรี  มารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจำนวนนักเรียน 1,855 คน จำนวนบุคลากรครู 99 คน โรงเรียนได้ดำเนินการปรับภูมิทัศน์รอบโบสถ์แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ปรับพื้นสนามเด็กเล่นระดับปฐมวัยและสถานรับเลี้ยงเด็กพระกุมารมหาสารคาม

ปีการศึกษา 2562  ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผูจัดการ จาก บาทหลวง ดร.เชาวฤทธิ์  สาสาย เป็น บาทหลวงเสกสรร  สมศรี  และผู้อำนวยการ จาก นางสาวศรีสุดา ประผะลา เป็น นางสาวรัตนารี สัญลักษณ์  จำนวนนักเรียน 1,893 คน จำนวนบุคลากรครู 98 คน โรงเรียนได้ดำเนินการระบบความปลอดภัยในโรงเรียน  การปรับภูมิทัศน์บริเวณสนามฟุตบอล  ติดตั้งกล้องวงจรปิด  ติดตั้งสื่อมัลติมิเดีย

ปีการศึกษา 2566  ด้านการบริหารได้ปรับเปลี่ยนผู้จัดการ จาก บาทหลวงเสกสรร  สมศรี  เป็น บาทหลวงประยูร  สมศรี  จำนวนนักเรียน 1,939 คน จำนวนบุคลากรครู 98 คน โรงเรียนได้ดำเนินการระบบความปลอดภัยในโรงเรียน  การปรับภูมิทัศน์บริเวณสนามฟุตบอล  ติดตั้งกล้องวงจรปิด  ติดตั้งสื่อมัลติมิเดีย

ออกแบบโดย dsite.in.th